Last updated: 25 ต.ค. 2567 | 2306 จำนวนผู้เข้าชม |
การลบครีบ / ลบคมคืออะไร?
------------------------------------------------------
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าครีบคืออะไร
"ครีบ" คือ ส่วนที่ยื่นออกมาจากชิ้นงาน ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาโดยไม่จำเป็น จะเกิดขึ้นจากการตัดเฉือนและการขึ้นรูปแม่พิมพ์ คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษที่เรียกว่า ``burr'' และ ``bur'' ซึ่งดูเหมือนจะหมายถึงเสี้ยนเกาลัดและผิวตัดของเลื่อย ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า "bari"
หากนำชิ้นงานที่มีครีบไปประกอบหรือใช้งาน อาจะทำให้ชิ้นงานเกิดการชำรุดเสียหายได้ เนื่องจากครีบอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนหรือมีความเสียหายอื่นๆตามมา รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บในการสัมผัส
ดังนั้น กระบวนการที่เรียกว่า "การลบคม" หรือการลบครีบจึงเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการผลิต ซึ่งการลบคมเป็นกระบวนการขจัดส่วนที่ยื่นออกมาเพียงเล็กๆเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ระดับมืออาชีพ และทักษะทางเทคนิคเพื่อขจัดครีบทุกชนิดได้อย่างหมดจดน่า แม่นยำ ด้วยระยะเวลาอันสั้นและยังใช้ต้นทุนที่ต่ำอีกด้วย
-------------------------------------------------------
กลไกลการเกิดครีบ
ก่อนอื่นเราจะพูดถึงครีบเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สรุปง่ายๆได้ว่า ครีบเกิดจาก"การเคลื่อนตัวของเนื้อชิ้นงานส่วนเกินไหลสู่ช่องว่าง" ซึ่งมาจากการกระบวนการแปรรูป สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือ การตัดแต่งชิ้นงาน และการขึ้นรูปจากแม่พิมพ์
1. ครีบที่เกิดขึ้นจากการตัดแต่ง
จากรูปภาพที่แสดงด้านบน จะเป็นวิธีการตัด เฉือน กด เจาะ ฯลฯ การเกิดครีบไม่ว่าจะเป็นส่วนปลายที่เกิดจากกระบวนการผลิต หรือจะเป็นบริเวณร่องต่างๆ ล้วนแล้วจะเกิดในส่วนที่มีช่องว่าง
ตามกระบวนการแล้วถูกแบ่งออกเป็นส่วนที่จะตัดก่อนแล้วนำไปรีด จึงทำให้เกิดการเคลื่อนตัวหลังจากนำไปรีด จนทำให้เกิดครีบนั่นเอง
2. การเกิดครีบที่มาจากการขึ้นรูปจากแม่พิมพ์
ในกรณีของการหล่อหรือการฉีดขึ้นรูป วัสดุจะเป็นของเหลว เมื่อถูกเทลงในแม่พิมพ์แล้วจะเกิดการแข็งตัว
ตามที่แสดงในรูปภาพด้านบน เห็นได้ว่าชิ้นส่วนของแม่พิมพ์จะแบ่งออกเป็น2-3ส่วน เพื่อให้สามารถถอดของแข็งออกจากแม่พิมพ์ได้ ซึ่งแต่ละส่วนจะมีช่องว่างรอยต่อ ในส่วนนั้นทำให้ของเหลวสามารถไหลเข้าไปในแม่พิมพ์และทำให้เกิดครีบได้ นอกจากนี้วัสดุของทางเดินน้ำร้อนที่เชื่อมต่อกับแม่พิมพ์จะแข็งตัวและจะเกาะติดกับชิ้นงานไปด้วย สิ่งนี้เรียกว่าเซกิหรือรันเนอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นจะมีความคล้ายคลึงกับครีบ
-----------------------------------------------
วิธีการลบครีบ/ลบคม
วิธีการลบครีบลบคมมีวิธีดังต่อไปนี้ มาดูกัน
1. วิธีตะไบ มีดตัด ค้อน
การใช้วิธีตะไบหรือมีดในการขจัดครีบ โดยทั่วไปจะเป็นวิธีการทำมือ ส่วนในกรณีของส่วนเกินที่เรียกว่าเซกิ อาจใช้วิธีตะไบด้วยมือหรือทุบด้วยค้อนก็ได้
2. วิธีโดยใช้สายพายขัดทราย
วิธีนี้จะใช้สายพานหมุนแบบไฟฟ้า ลูกกลิ้ง และเครื่องมือรูปจานในการขจัดครีบ เป็นวิธีที่ใช้เวลาที่สั้นกว่าการลบคมด้วยมือ เครื่องมือที่ใช้จะเป็นกระดาษทราย, หินขัด, ฟองน้ำและสกิน เป็นต้น
3.วิธีโดยการพ่นทราย/บาเรล
เป็นวิธีที่ใช้กับกรณีที่มีชิ้นงานเป็นจำนวนมาก โดยจะใช้คู่กับเม็ดหรือเรียกว่าเม็ดพ่นทราย เพื่อขจัดครีบได้ในครั้งเดียว การพ่นทรายเป็นวิธีการขจัดครีบโดยการพ่นหรือใช้ใบพัดพัดให้เม็ดกระทบกับชิ้นงาน ส่วนวิธีการทำโดยใช้เครื่องบาเรล จะเป็นการนำชิ้นงาน เม็ดขัดและน้ำเทใส่เข้าไปในเครื่องบาเรลด้วยกัน ซึ่งการทำงานของถังบาเรลจะหมุนและปั่นเหมือนเครื่องซักผ้าเพื่อให้เม็ดขัดไปกระทบหรือเสียดสีกับชิ้นงาน จนทำให้เกิดการขัดเขาได้อีกด้วย
ทุกคนสงสัยกันไหมว่าทำไมการพ่นทรายหรือบาเรลสามารถลบเฉพาะครีบได้ แล้วส่วนอื่นจะมีผลกระทบอะไรไหม?
วิธีการพ่นทรายและบาเรล ซึ่งแน่นอนจะมีความกังวลว่า
“แล้วในส่วนที่ไม่ใช่ครีบจะถูกตัดออกไปด้วยไหม”
แต่ถ้าหากไปดูการทำงานจริงของเครื่องพ่นทรายและบาเรลแล้ว จะเห็นได้ว่าในส่วนเกินเท่านั้นที่จะถูกตัดออกอย่างหมดจด และส่วนอื่นๆแทบจะไม่ถูกตัดออกไปเลย
ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ลองนึกถึงหินกลมๆที่ลื่นไหลอยู่ตามชายหาดหรือแม่น้ำ ทำไมหินพวกนั้นถึงมีลักษณะกลม ก็เพราะว่าส่วนที่ยื่นออกมาหรือส่วนเกินนั้นถูกขจัดออกไป เนื่องจากแรงเสียดทานกับก้นแม่น้ำในขณะที่ไหลลงมาตามแม่น้ำนั่นเอง
แล้วถ้าถามว่า “ทำไมส่วนที่เป็นครีบถึงหลุดออกก่อนส่วนอื่นๆ”
จะมี3เหตุผลหลักๆดังนี้
- เนื่องจากเป็นส่วนที่เกินออกมา จึงมีโอกาสในการกระทบกับสิ่งต่างๆด้านนอกค่อนข้างมาก
- ผิวมีความบางและหักง่าย
- การกระทบของเม็ดและแรงดันสูงทำให้ครีบหลุดออกง่าย
แสดงให้เห็นว่าลักษณะของกระบวนการของเครื่องพ่นทรายและบาเรลคือ การที่แรงบางอย่างทำให้เม็ดเสียดสีกับชิ้นงาน จากนั้นครีบหรือส่วนเกินนั้นก็จะหลุดออกไป
-END-
--------------------------------------
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือสนใจเครื่องพ่นทราย บาเรล หรือไม่ว่าจะเป็นบริการ
ลบครีบ เราพร้อมให้คำแนะนำและบริการ โปรดติดต่อเรา
2 ส.ค. 2565
23 ม.ค. 2566
19 พ.ค. 2566
29 ก.ค. 2565